พิธีแต่งงานแบบไทย

องค์ประกอบของขบวนขันหมาก

เครื่องขันหมากหมั้น
ขั้นตอนพิธีแต่งงานแบบไทยแต่งงานแบบไทย หลายคนเคยได้ยินแต่ขบวนขันหมากแต่ง แต่ไม่รู้ว่ามีขันหมาก สำหรับ พิธีหมั้นด้วยซึ่งพิธี ก็เหมือนเป็นการประกาศว่า ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเห็นชอบขบวนขันหมากหมั้น จะมีขันใส่หมาก และขันใส่ของหมั้น


ขันใส่หมาก จะมีหมากดิบ 8 ผล พลู 4 เรียง (เรียงละ 8 ใบ) หรืออาจใช้มากกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ขอแค่ให้เป็นจำนวนเลขคู่

ขันใส่ของหมั้น ซึ่งในสมัยก่อน มักจะเป็นทองรูปพรรณ เครื่องเพชรพลอย สร้อยต่างหูกำไลหรือแหวนทองมรดก จากบรรพบุรุษ ห่อไว้ด้วยผ้าหรือกระดาษสีแดง ให้เรียบร้อย สวยงาม ก่อนบรรจุ ลงในขัน สมัยนี้เปิด ผ้าแดงออกมามีแต่ธนบัตรล้วนๆ หลายปึกเรียงซ้อนกัน ก็นับว่าเข้าทีเหมือนกัน

ขันประกอบ มีการเพิ่มขันที่สามเข้าไปเพื่อเป็นขันประกอบโดยบรรจุใบเงินใบทอง ถุงเล็กถุงน้อยที่ใส่ข้าวเปลือก ข้าวตอก ถั่วเขียว และงา (เป็นจำนวนคู่) ซึ่งจัดไว้เพื่อเอาความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความงอกงามในวันข้างหน้า ส่วนขันใส่หมาก ขันใส่ของหมั้น ขันใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา และใบเงินใบทอง ทั้งหมดจัดแต่งอย่างประณีต อาจมีการเย็บใบตองจับจีบประดับด้วยมาลัย ดอกรักและบานไม่รู้โรยแล้วคลุมด้วยผ้าอย่างดีให้เรียบร้อยสวยงาม

การเจรจาหมั้นหมาย
เมื่อผู้ใหญ่ทางฝ่ายชายให้คนยกเครื่องขันหมากหมั้นลงจัดวางเรียบร้อยแล้ว จึงเจรจากับผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง แจกแจงว่าของที่นำ มาหมั้นมีอะไรบ้าง พอให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเปิดดูข้าวของว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ค่อยให้คนของฝ่ายตัวเองยกของทั้งหมดเข้าไปเก็บ ตามตัวเจ้าสาว ออกมารับหมั้น หลังจากนั้นจึงส่งภาชนะถาดขันทั้งหลายเหล่านั้นออกมาคืน ซึ่งส่วนใหญ่ครอบครัวฝ่ายหญิงมักเตรียม ของขวัญเล็กน้อยมีมูลค่า ต่างกันไปตามสถานะผู้รับไว้ให้ขบวนของฝ่ายชายครบทุกคนด้วย นอกจากนี้ในสมัยก่อนบ้านฝ่ายหญิงอาจ ต้องเตรียมพานใส่หมากพลูไว้ต้อนรับผู้ใหญ่ฝ่ายชายด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครกินหมาก ก็จะละไว้ไม่ต้องจัดเตรียมเรื่องของพิธีหมั้น มีบางกรณีที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ว่าจัดรวบเสียวันเดียวกับงานแต่งก็ได้ โดยยกขบวนทั้งของหมั้นของแต่งในคราวเดียวเพื่อ ความสะดวก สำหรับกรณีที่ไม่เคร่งครัดจะไม่มีหมากพลูของหมั้นขันถาดอะไรเลย แค่ล้วงหยิบกล่องใส่แหวนออกมาจากกระเป๋า เสื้อเท่านั้นก็ย่อมได้ ถ้าทำความเข้าใจกันไว้แล้วอย่างดีแล้วค่อยไปให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานแต่งเพียงอย่างเดียวก็พอ

เครื่องขันหมากแต่ง
ขันหมากงานแต่งก็คล้ายกันกับขันหมากหมั้น เพียงแต่มีเครื่องประกอบเยอะกว่า มีการจัดหมวดหมู่ต่างออกไป คือต้องจัดแยกเป็นขันหมากเอก และขันหมากโท ซึ่งฝ่ายเจ้าบ่าวจะทำหน้าที่ยกไป เพื่อมอบใหเกับครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาว ขันหมากเอก ประกอบด้วยขันหมากบรรจุหมากพลู หรืออาจจัดแยกเป็นหมากหนึ่งขันและพลูอีกหนึ่งขันก็ได้ จากนั้นต้องมีขันเงินสินสอดตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ โดยบางตำราระบุว่า ควรจะต้องมีถุงเล็ก ถุงน้อยใส่ถั่วงา ข้าวเปลือก ข้าวตอกใสามาในขันนี้ด้วย แต่ธรรมเนียมบางแห่งจัดแยกกัน คือจัดเงินสินสอดใส่ห่อผ้าลงในขันหนึ่ง แล้วจัดถุงข้าวและถั่วงาลงขันอีกใบหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะอย่างไรสิ่งสำคัญคือ ต้องตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม เช่นประดับ มาลัยดอกรักบาน ไม่รู้โรย ใบตองประดิษฐ์ และมีผ้าคลุมไว้ทุกขันเพื่อความเหมาะสม และต้องจัดให้ขันบรรจุหมากพลูมีขนาดใหญ่กว่าขันอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ขันหมากเอกประกอบด้วยพานผ้าไหว้และเตียบเครื่องคาวหวาน จัดไว้เป็นจำนวนเลขคู่ตามเคย พานไหว้ ได้แก่ พานใส่ผ้าสำหรับไหว้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง โดยมากจัด 3 สำรับ สำรับแรกเป็นผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืนและห่ม 1 ผืน เทียนและธูปหอม ดอกไม้อีกกระทง อันนี้สำหรับเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายาย ส่วนอีก 2 สำรับใช้ไหว้พ่อและแม่เจ้าสาว ไม่ต้องมีธูปเทียนและดอกไม้ กรณีที่ปู่ย่าตายายยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ต้องจัดพานผ้าไหว้เซ่นบรรพบุรุษ หรือผ้าไหว้สำหรับพ่อตาแม่ยายแทนที่จะใช้ผ้าเป็นผืนอาจเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่ท่านจะนำไปใช้งานได้จริง เตียบ คือภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับใส่เครื่องของกิน เป็นตะลุ่มที่มีปากผายออกและมีฝาครอบ เตียบเครื่องคาวหวานในเครื่องขันหมากเอก มีไว้เพื่อเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายายหรือผีบ้านผีเรือนของบ้านเจ้าสาว โดยให้จัดไว้ 4 เตียบ เตียบแรกจะใส่เหล้า 1 ขวด เตียบสองไก่ย่าง 1 ตัว เตียบสามใส่ขนมจีนน้ำยาและห่อหมกปลาเตียบสี่เป็นมะพร้าวอ่อน ส้ม กล้วย รวมกับขนมหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ด้วยแต่ละท้องถิ่นมีธรรมเนียมนิยมเรื่องอาหารต่างกันออกไปอยู่แล้ว ขอเพียงให้มีเหล้า 1 เตียบ และผลไม้ของหวาน 1 เตียบ ก็เป็นอันใช้ได้ ส่วนตัวเตียบนั้นอาจดัดแปลงเปลี่ยนเป็นพานหรือถาดก็ไใช้ได้เช่นกัน แต่ขอให้เตรียมผ้าสวยๆ ไว้คลุมปิดให้เรียบร้อยเป็นพอ (ในบางงานตัดการจัดเตียบออกไปเลยเพราะปู่ย่าตายายก็ยังอยู่กันครบแถมไม่ได้จัดงานที่บ้านจึงไม่ ต้องเซ่นไหว้ผีบ้านผีเรือน) ขันหมากโท เป็นเครื่องของประเภทขนมและผลไม้ บรรจุมาในขันหรือภาชนะอื่น เช่นถาดหรือ พาน ชนิดของขนมและผลไม้ไม่จำกัด ต่ส่วนมากมักใช้ชนิดที่นิยมในงานมงคลมีกล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน ขนมชั้น ฝอยทอง ข้าเหนียวแก้ว กะลาแม จัดเป็นคู่ทั้งจำนวนชิ้นขนม จำนวนภาชนะที่บรรจุ แล้วปักธงกระดาษสีแดงตกแต่งไว้ตรงกลางทุกขันหรือทุกถาด
ลำดับขั้นก่อนหลังการจัดขบวนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยเถ้าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าว ตามมาด้วยคนยกขันหมากเอก ซึ่งต้องเรียงตามลำดับคือ คนยกขันหมากพลู ขันเงินสินสอด ขันผ้าไหว้ และเตียบ หลังจากนั้นถึงต่อท้ายด้วยคนยักขันหมากโทอีกที ที่เห็นกันบ่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนขันหมาก คือวงกลองยาวที่ตีฆ้องร้องรำนำหน้าขบวนกันมา สิ่งที่ช่วยสร้างสีสันอีกอย่าง ได้แก่ การตกแต่งหน้าขบวน ซึ่งนิยมใช้ต้นอ้อย 1 คู่ ถือเป็นการเอาเคล็ดเรื่องความหวาน ในบางท้องถิ่นใช้ต้นกล้วย 1 คู่แทน หมายถึงการมีลูกหลานมากมาย และที่ใช้ทั้งกล้วยทั้งอ้อยก็เหฌนกันอยู่บ่อยๆ ส่วนวงกลองยาวและต้นกล้วยต้นอ้อย หากสถานการณ์ ไม่อำนวย ไม่ต้องมีก็ได้ เพราะไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญ แต่โดยส่วนมากก็มักจะอยากให้มีประกอบอยุ่ในขบวนด้วยเพื่อความสนุกสนานเฮฮาของทั้งเจ้าภาพและของแขกที่มาร่วมงาน ส่วนใหญ่แล้วผู้ทำหน้าที่ยกข้าวของเครื่อง ขันหมากเอกมักใช้ผู้หญิง ส่วนขันหมากโทจะเป็นชายหรือหญิงทำหน้าที่ยกก็ได้

การกั้นประตู

เป็นอีกเรื่องที่แรกเริ่มเดิมทีเป็นไปเพื่อความสนุก แต่ภายหลังแทบจะเป็นองค์ประกอบหลักของงานแต่งงานไปทีเดียว การกั้นประตู คือการขวางทางขบวนขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวไว้เมื่อเคลื่อนเข้ามาในเขตบ้านเจ้าสาว โดยใช้คนสองคนถือสิ่งของที่มีลักษณะยาวออกกางกั้นไว้ หากไม่มอบของกำนัลให้ ก็จะไม่ยอมให้ผ่านเข้าไปได้ การกั้นประตูจะต้องทำโดยญาติพี่น้องหรือลูกหลานในครอบครัวเจ้าสาว ส่วนใหญ่มักทำกัน 3 ครั้ง ครั้งแรกใช้ผ้ากางกั้นไว้ เรียกว่าประตูชัย ประตูที่สองใช้ผืนแพร เรียกว่า ประตูเงิน สุดท้ายกั้นด้วยสายสร้อยทอง เรียกว่า ประตูทอง ในแต่ละประตู เถ้าแก่ ของเจ้าบ่าวจะต้องเจรจาเพื่อมอบของขวัญ (ส่วนมากนิยมใช้ซองใส่เงิน) ก่อนจะผ่านประตูไปได้ ซึ่งมูลค่าของขวัญมักจะต้องสูงขึ้นตามลำดับด้วย

การรับขันหมาก
เมื่อขบวนขันหมากผ่านเข้ามาจนถึงตัวบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวต้องส่งเด็กผู้หญิงถือพานบรรจุหมากพลูออกมาต้อนรับเถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว เพื่อเป็นการรับขันหมากและเชิญให้เข้าสไปข้างใน เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวออกมาต้อนรับพูดคุย และรับรู้เครื่องของในขบวนแล้ว ก็รับข้าวของเหล่านั้นไว้ และทำการเปิดเตียบ (ในกรณีที่มีเตียบในขบวน) เพื่อจุดธุปเซ่นไหว้ต่อไป รายละเอียดขั้นตอนต่างๆ แต่ละท้องถิ่นก็ต่างกันไป ถ้าจะว่ากันโดยสรุปแล้ว เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวนับสินสอดครบถ้วนแล้ว ก็ต่อด้วยการให้เจ้าสาวกราบผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย แล้วจัดการเลี้ยงอาหารแขกที่มาร่วมงาน ซึ่งการเตรียมอาหารเป็นหน้าที่ของฝ่ายเจ้าสาว จากนั้นแจกของขวัญหรือซองเงินให้คนยกขันหมากมาในขบวน (รวมทั้งให้ตัวเถ้าแก่ฝ่ายชายด้วย)

การรดน้ำสังข์
ขั้นตอนการหลั่งน้ำสังข์ให้มีในวันยกขบวนขันหมาก หรือจัดแยกวันไว้ในภายหลังก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก หรือ ฤกษ์ยามโดยเมื่อถึงเวลาที่กำหนด เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาวจะพาคนทั้งสองมานั่งบนแท่นสำหรับหลั่งน้ำ แล้วเชิญประธานในพิธีจุดธูปเทียนจากนั้นสวมมงคลแฝดบนศรีษะเจ้าบ่าวเจ้าสาว แล้วโยงสายสิญจน์ไปยังหม้อน้ำมนต์เจิมหน้าผากด้วย แป้งเจิม แล้วเริ่มหลั่งน้ำสังข์ให้กับคู่บ่าวสาว อาจมีบางแห่งที่ปฏิบัติต่างกันไปบ้าง คือ ให้บ่าวสาวเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชาพระแทน การรดน้ำสังข์นั้น จะรดเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวก่อนก็ได้ (แต่นิยมให้เจ้าบ่าวนั่งทางขวามือ)และจะรดบนศรีษะหรือบนมือที่มีพานดอกไม้รองรับอยู่ แต่เพื่อความเรียบร้อยจึงเป็นที่รู้กันว่าการรดบนศรีษะนั้นสงวนไว้ให้สำหรับผู้ใหญ่ประธานในพิธีผู้รดเป็นคนแรก และให้ศีลให้พรไปด้วย จากนั้นก็เป็นผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะให้พรไปพร้อมกับหลั่งน้ำ ส่วนคิวต่อๆ ไป มักเรียงลำดับตามอาวุโส ที่น่าสังเกตก็คือ ผู้หลั่งน้ำที่อายุรุ่นเดียวกันหรือยังไม่แต่งงานมักไม่นิยมให้พูดจาให้ศีลให้พรแก่คู่บ่าวสาว เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการหลั่งน้ำสังข์แล้ว จะจัดให้มีงาน เลี้ยงฉลอง สนุกสนาน กันอย่างไร สำหรับเรื่องงานเลี้ยงงานแต่งงาน สมัยนี้การที่ฝ่ายเจ้าสาวจะลุกขึ้นมาทำอาหารสำหรับ งานแต่งเห็นจะมีน้อยเต้มที เพราะต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก และสถานที่ในบ้านอาจไม่กว้างพอ ดังนั้น การจ้างบริษัทจัดเลี้ยงหรือร้านอาหารให้จัดการให้ จึงเป็นวิธีที่เหมาะกว่า ซึ่งรายการอาหารในงานแต่ง ไม่มีกำหนดตายตัวอะไร แล้วแต่ความชอบในท้องถิ่นหรือในครอบครัว เพียงแค่หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเกินควรและอาหารชื่อไม่เป็นมงคล เช่น ต้มยำต่างๆ ปลาร้าปลาแดก ตีนไก่ หอยขม ที่นิยมกันมาก ได้แก่ ขนมจีน เพราะเป็นเส้นยาว ให้ความหมายถึงชีวิตคู่ที่ยืดยาวนาน ส่วนขนมหวานงานแต่งนั้น นอกจากขนมชื่อมงคลต่างๆ แล้วยังมีขนมโบราณคือ ขนมกง ขนมชะมด และขนมสามเกลอที่มักใช้ในงานแต่งงานอยู่เสมอ ทั้งสามชนิดทำจากแป้งหรือถั่วบด ปั้นและทอดในน้ำมัน แต่ใ่ช้ส่วนผสมและวิธีทำต่างๆ กันไป ซึ่งร้านขนมไทยบางแห่งอาจยังพอทำเป็นอยู่บ้าง

พิธีส่งตัวเข้าหอ
เรื่องของการเข้าหอโดยหลักๆ ว่าด้วยพิธี 2 อย่าง นั้นคือ การปูที่นอน และการส่งตัว สมัยนี้มีหลายแห่งที่ถึงแม้จะจัดงานแต่งงานตาม ธรรมเนียมไทย แต่ก็ลดขั้นตอนพิธีเข้าหอเพื่อถือเคล็ดว่า บ่าวสาวจะได้มีชีวิตคู่ที่ดีเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างคู่นี้ เพราะบางทีแต่งไม่ได้ จัดกันที่บ้านของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่จัดในสถานที่จัดงานอื่นๆ ครั้นจะวิ่งวุ่นหนีแขกหรื่อจากงานเลี้ยงฉลองเพื่อกลับมาทำพิธีเข้าหอที่บ้านเจ้าสาว (หรือบ้านเจ้าบ่าว) ก็จะเป็นไปได้โดยลำบาก บางรายทีการปลูกเรือนหอเพื่อรอย้ายเข้าไปอยู่ หากยังตกแต่งไม่เสร็จ ็ไม่รู้จะจัดพิธีเข้าหออย่างไร หรือกรณีที่ส่วนมากจัดงานเลี้ยงฉลองกันในโรงแรม โดยเจ้าบ่าวสาวพักค้างคืนเสียเลยในโรงแรมนั้น พิธีการต่างๆ เกี่ยวกับการเข้าหอก็อาจยุ่งยาก เกินกว่าจะเตรียมการได้อย่างครบถ้วน มีข้อสังเกตว่า ตามประเพณีดั้งเดิมนั้น เขาไม่มีการส่งตัวเข้าหอกันในวันแต่งงานทว่าต้องรอฤกษ์ดี สำหรับ การนี้โดยเฉพาะในวันหลัง ซึ่งบางทีนั้นก็อาจจะนอนหลายวันนับจากวันแต่งงานไปอีกก็ได้ พิธีปูที่นอน เป็นการจัดปูที่นอนในห้องหอคืนส่งตัว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของคู่บ่าวสาวต่อไปในอนาคตเดิมนั้นพ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาว จะเชิญผู้ใหญ่คู่สามีภรรยาซึ่งชีวิตครอบครัวมีความสุขสมบูรณ์ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยทะเลาะหรือขัดแย้งกัน ต้องมีลูกแล้วและลูกเป็นคนดีด้วย เพื่อถือเคล็ดว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะได้มีชีวิตคู่ที่ดีเช่นเดียวกัน ผู้ใหญ่ที่ทำพิธีปูที่นอนนี้ต้องอาบน้ำให้สะอาดแต่งตัวเรียบร้อยสวยงามดีก่อน แล้วจึงเข้ามาในห้องหอเพื่อจัดเรียงหมอน 2 ใบ แล้วปัดที่นอนพอเป็นพิธี ไม่จำเป็นต้องปูที่นอนเองทั้งหมด จริงๆ ก็ได้ จากนั้นจัดวางข้าวของ ประกอบพิธีลงบนที่นอนอันได้แก่ หินบดยาหรือหินก้อนเส้าซึ่งใช้ก่อไฟในครัว หมายถึงความหนักแน่น ฟักเขียว หมายถึงความอยู่เย็นเป็นสุขแมวคราว (แมวตัวผู้ที่อายุมากแล้ว) หมายถึงการอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนพานใส่ถุงข้าเปลือก งา ถั่วทองหรือถั่วเขียว ซึ่งล้วนหมายถึง ความเจริญงอกงาม และขันใส่น้ำฝน เป็นความเย็น ความสดชื่นชุ่มฉ่ำหรือบางแห่งอาจเพิ่มถุงใส่เงินด้วยในระหว่างจัดวางของ จะให้ศิลให้พร ไปด้วย จากนั้นผู้ใหญ่ทั้งคู่ก็จะนอนลงบนที่นอนนั้นฝ่ายหญิงนอนทางซ้าย ฝ่ายชายนอนทางขวา แล้วกล่าวถ้อยคำที่เป็นมงคลต่าง ๆ แก่ชีวิตคู่ การส่งตัว แต่ดั้งแต่เดิมมาผู้ใหญ่จะนำเจ้าสาวเข้ามาส่งตัวในห้องหอซึ่งเจ้าบ่าวเข้ามาคอยอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าส่งทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้ามาพร้อมๆ กันเหมือนสมัยนี้ การส่งตัวไม่มีอะไรซับซ้อน ส่วนสำคัญของพิธีอยู่ที่คู่ผู้ใหญ่ซึ่งทำพิธีปูที่นอนนั้นพาเจ้าบ่าวเข้ามาในห้องหอ เจิมหน้าผากอวยพร จากนั้นค่อยนำเจ้าสาวเข้าห้องหอตามมา โดยเจ้าสาวต้องกราบพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายของตัวเอง เพื่อเป็นการขอพร เมื่อเจ้าสาวเข้ามา ในห้องหอแล้ว แม่เจ้าสาวต้องเป็นผู้พามามอบให้กับเจ้าบ่าว พร้อมพูดจาฝากฝังให้ช่วยดูแล จากนั้นจะกล่าวให้โอวาทเกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ ในขั้นตอนนี้ ธรรมเนียมบางท้องถิ่นจะให้พ่อแม่เจ้าสาวเป็นผู้กล่าวบางแห่งก็ให้กล่าวทั้งพ่อแม่เจ้าสาวและเจ้าบ่าว หรือบางแห่งให้ผู้ใหญ่ คู่เดิมซึ่งทำพิธีปูที่นอนเป็นผู้กล่าวแทนพ่อแม่ไปเลยก็มีซึ่งพอให้โอวาทจบ ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธี

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.centerwedding.com
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท
Custom Search